CLICK HERE FOR THOUSANDS OF FREE BLOGGER TEMPLATES

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552



ตื่นตระหนกกันทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะตั้งแต่เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยผลงานวิจัยปริมาณการแพร่กระจายของสารประกอบคาร์บอนิล โดยนางเดซี่ หมอกน้อย นักวิจัยด้านอากาศ
สิ่งที่ได้รับการเปิดเผย ส่งผลให้ประชาชนเข้าใจในเบื้องต้นว่า น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้รถยนต์ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับการรณรงค์ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นก่อสารมะเร็งร้าย!
เพราะจาการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ยิ่งมีการส่งเสริมให้ใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้นเท่าไหร่ ปริมาณสารประกอบกลุ่มคาร์บอนิล กว่า 10 ชนิด ที่มีสารก่อมะเร็ง ‘ฟอร์มาลดีไฮด์’ และ ‘อะเซทัลดีไฮด์’ ก็ถูกตรวจพบสูงขึ้น โดยเฉพาะในย่านจอแจ อย่าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ถนนพระราม 5, รัชดาภิเษก, สุขุมวิท และดอนเมือง
ความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ คือ ความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งที่พบนั้นเกินมาตรฐานเฝ้าระวังของสหรัฐฯ ที่ประเมินไว้ว่า ผู้ที่ได้รับสารดังกล่าวเพียง 1.23 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อย่างต่อเนื่อง จำนวน 40 ต่อ 1 ล้านคน มีโอกาสเป็นมะเร็ง
ซ้ำความน่าวิตกด้วยค่าความเข้มข้นของสารฟอร์มาลดีไฮด์ ในย่านจอแจ สูงเกินระดับความเสี่ยงที่สหรัฐฯกว่า 5 เท่าตัว สูงกว่าเมืองโอซากา ญี่ปุ่น และเมืองออนทาริโอ แคนาดา 3-5 เท่าตัว เนื่องจากมีสัดส่วนของเอทานอล 3 และร้อยละ 15 ในแก๊สโซฮอล์
ด้วยข้อมูลเบื้องต้น อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า แก๊สโซฮอล์ คือตัวการเพิ่มสารก่อมะเร็งเข้าไปในอากาศ และเมื่อสูดดมเข้าไปสะสมในร่างกาย ก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
แต่ในด้านของกรมธุรกิจพลังงาน ออกมาชี้แจงว่า แก๊สโซฮอล์ มีผลเกี่ยวเนื่องกับการเกิดสารประกอบคาร์บอนิล
ตื่นตระหนกกันทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะตั้งแต่เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยผลงานวิจัยปริมาณการแพร่กระจายของสารประกอบคาร์บอนิล โดยนางเดซี่ หมอกน้อย นักวิจัยด้านอากาศ
สิ่งที่ได้รับการเปิดเผย ส่งผลให้ประชาชนเข้าใจในเบื้องต้นว่า น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้รถยนต์ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับการรณรงค์ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นก่อสารมะเร็งร้าย!
เพราะจาการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ยิ่งมีการส่งเสริมให้ใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้นเท่าไหร่ ปริมาณสารประกอบกลุ่มคาร์บอนิล กว่า 10 ชนิด ที่มีสารก่อมะเร็ง ‘ฟอร์มาลดีไฮด์’ และ ‘อะเซทัลดีไฮด์’ ก็ถูกตรวจพบสูงขึ้น โดยเฉพาะในย่านจอแจ อย่าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ถนนพระราม 5, รัชดาภิเษก, สุขุมวิท และดอนเมือง
ความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ คือ ความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งที่พบนั้นเกินมาตรฐานเฝ้าระวังของสหรัฐฯ ที่ประเมินไว้ว่า ผู้ที่ได้รับสารดังกล่าวเพียง 1.23 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อย่างต่อเนื่อง จำนวน 40 ต่อ 1 ล้านคน มีโอกาสเป็นมะเร็ง
ซ้ำความน่าวิตกด้วยค่าความเข้มข้นของสารฟอร์มาลดีไฮด์ ในย่านจอแจ สูงเกินระดับความเสี่ยงที่สหรัฐฯกว่า 5 เท่าตัว สูงกว่าเมืองโอซากา ญี่ปุ่น และเมืองออนทาริโอ แคนาดา 3-5 เท่าตัว เนื่องจากมีสัดส่วนของเอทานอล 3 และร้อยละ 15 ในแก๊สโซฮอล์
ด้วยข้อมูลเบื้องต้น อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า แก๊สโซฮอล์ คือตัวการเพิ่มสารก่อมะเร็งเข้าไปในอากาศ และเมื่อสูดดมเข้าไปสะสมในร่างกาย ก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
แต่ในด้านของกรมธุรกิจพลังงาน ออกมาชี้แจงว่า แก๊สโซฮอล์ มีผลเกี่ยวเนื่องกับการเกิดสารประกอบคาร์บอนิล หากกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดไอเสียที่มีสารดังกล่าวปะปน ไอเสียอาจมากหรือน้อยแล้วแต่สภาพของเครื่องยนต์ ทั้งนี้หากรถยนต์เก่าดูแลไม่ดีมีโอกาสเกิดไอเสียที่มีสารพิษปะปนมาก และไม่ว่ารถชนิดนั้นจะใช้น้ำมันชนิดใดก็ตามจะมีไอเสียที่เป็นสารพิษออกมา เช่น จากน้ำมันดีเซลมีสารกำมะถันมาก น้ำมันเบนซินมีสารอะโรมาติกส์ และสารเบนซีน ที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง เป็นอันตรายมากกว่าสารกลุ่มคาร์บอนิล หากดูในภาพรวมแล้วแก๊สโซฮอล์จะเกิดมลพิษน้อยกว่าน้ำมันเบนซิน
นอกจากนี้ กรมธุรกิจพลังงานยังระบุว่า การลดสารพิษจากน้ำมันเชื้อเพลิง ทำได้ด้วยการควบคุมการปล่อยไอเสีย ซึ่งเครื่องยนต์ในปัจจุบันมีข้อบังคับให้ติดตั้งอุปกรณ์ฟอกไอเสีย หน่วยงานที่ดูแลคือกรมควบคุมมลพิษ กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แม้กรมธุรกิจพลังงานจะไม่มีหน้าที่ดูแลมาตรฐานไอเสียโดยตรง แต่จะประสานกับหน่วยงานดังกล่าวให้ช่วยดูแลกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และจะดูว่าควรจะต้องปรับแก้มาตรฐานให้ดีขึ้นเพื่อป้องกันมลพิษที่จะเกิดขึ้นหรือไม่
เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ใช้รถใช้ถนนก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ หมั่นตรวจตราเอาใจใส่สภาพเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมกันลดปริมาณสารพิษที่ถูกปล่อยสู่อากาศ แล้วจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเรา. หากกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดไอเสียที่มีสารดังกล่าวปะปน ไอเสียอาจมากหรือน้อยแล้วแต่สภาพของเครื่องยนต์ ทั้งนี้หากรถยนต์เก่าดูแลไม่ดีมีโอกาสเกิดไอเสียที่มีสารพิษปะปนมาก และไม่ว่ารถชนิดนั้นจะใช้น้ำมันชนิดใดก็ตามจะมีไอเสียที่เป็นสารพิษออกมา เช่น จากน้ำมันดีเซลมีสารกำมะถันมาก น้ำมันเบนซินมีสารอะโรมาติกส์ และสารเบนซีน ที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง เป็นอันตรายมากกว่าสารกลุ่มคาร์บอนิล หากดูในภาพรวมแล้วแก๊สโซฮอล์จะเกิดมลพิษน้อยกว่าน้ำมันเบนซิน
นอกจากนี้ กรมธุรกิจพลังงานยังระบุว่า การลดสารพิษจากน้ำมันเชื้อเพลิง ทำได้ด้วยการควบคุมการปล่อยไอเสีย ซึ่งเครื่องยนต์ในปัจจุบันมีข้อบังคับให้ติดตั้งอุปกรณ์ฟอกไอเสีย หน่วยงานที่ดูแลคือกรมควบคุมมลพิษ กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แม้กรมธุรกิจพลังงานจะไม่มีหน้าที่ดูแลมาตรฐานไอเสียโดยตรง แต่จะประสานกับหน่วยงานดังกล่าวให้ช่วยดูแลกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และจะดูว่าควรจะต้องปรับแก้มาตรฐานให้ดีขึ้นเพื่อป้องกันมลพิษที่จะเกิดขึ้นหรือไม่
เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ใช้รถใช้ถนนก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ หมั่นตรวจตราเอาใจใส่สภาพเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมกันลดปริมาณสารพิษที่ถูกปล่อยสู่อากาศ แล้วจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเรา.