เคล็ดลับ 20 ข้อ...ปกป้องประโยชน์ผู้ใช้งานขณะออนไลน์ " เทคโนโลยี" ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์กับมนุษยชาติ แต่ก็นั่นแหละ...คนช่าง(คิด)ขี้โกง มักจะฉกฉวยโอกาสเอาประโยชน์โภชผลกับคนอื่น อาศัยความฉลาด เจ้าเล่ห์เป็นช่องทางทำกิน ยิ่งการใช้ความรู้ด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์ไปเอาเปรียบผู้อื่น 15. จงระวังเมื่อได้รับอี-เมลที่ร้องขอรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร (สถาบันการเงินส่วนใหญ่ไม่เคยร้องขอรายละเอียดทางการเงินผ่านทางอี-เมล)
จาก http://www.matichon.co.th วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11244 มติชนรายวัน
ภัยคุก คามที่ว่านี้ก็คือ การใช้มัลแวร์ สแปม การรั่วไหลของข้อมูล และภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ เข้าไปเจาะข้อมูลส่วนตัว และเจตนาขโมยสินทรัพย์ของผู้อื่น ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ งานนี้ เทรนด์ ไมโคร ในฐานะคนทำนวัตกรรมการรักษาข้อมูล มีเรื่องเล่ามาบอกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ด้วยเรื่อง "สุดยอดเคล็ดลับ 20 ข้อ ช่วยปกป้องผู้ใช้งานขณะออนไลน์" ที่น่าสนใจด้วยการเผยเคล็ดลับความปลอดภัยทั่วไป 20 หัวข้อ นั่นคือ
1. เปิดใช้งานและปรับปรุงซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยให้ทันสมัยเสมอ ยิ่งถ้าใช้งานแล็ปท็อปที่ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ไม่มีการป้องกันใดๆ ในบริเวณสนามบิน ร้านกาแฟ และสถานที่ต่างๆ
2.ติดตั้งผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่ปกป้องทุกกรณีไม่ว่าจะท่องอินเตอร์เน็ตหรือดาวน์โหลดไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์โดยตรง
3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ป้องกันภัยบนเว็บครอบคลุมการป้องกันอี-เมล รวมถึงเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ และแอพพลิเคชั่นการประมวลผลที่ใช้ภายในบ้านทั้งหมดด้วยและสามารถแจ้งเตือน เกี่ยวกับปริมาณการส่งผ่านข้อมูลทั้งเข้าและออกจากคอมพิวเตอร์ในเวลาจริง
4. ปรับใช้เทคโนโลยีล่าสุด เช่น การป้องกันโดยการตรวจสอบประวัติเว็บ (Web Reputation) ซึ่งวัดระดับความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนที่จะเข้าชมได้ ให้ใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบประวัติเว็บร่วมกับเทคโนโลยีการกรองยูอาร์แอล (URL) และการสแกนเนื้อหา
5.ใช้เว็บบราวเซอร์รุ่นล่าสุดและติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงความปลอดภัยเมื่อพร้อมใช้งาน
6.ใช้เว็บบราวเซอร์ที่มีปลั๊กอินป้องกันสคริปต์
7.ตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตว่าเครือข่ายของผู้ให้บริการใช้การป้องกันชนิดใด
8. ถ้าใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ให้เปิดใช้งานคุณลักษณะ "ปรับปรุงอัตโนมัติ" (Automatic Update) และติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงใหม่ๆ ทันทีที่พร้อมใช้งาน
9.ติดตั้ง ปรับปรุง และดูแลไฟร์วอลล์ รวมทั้งซอฟต์แวร์ป้องกันการบุกรุกเสมอซึ่งครอบคลุมถึงการป้องกันมัลแวร์หรือสปายแวร์ด้วย
10.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโซลูชั่นซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยเป็นรุ่นล่าสุด
กรณีสำหรับอี-เมล
11.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันสแปมที่ครอบคลุมรายชื่ออี-เมลทั้งหมดที่มีเสมอ
12.ระวังอี-เมลที่ดูน่าสงสัยหรือแปลกๆ ไม่ว่าจะส่งมาจากผู้ใดก็ตามอย่าเปิดสิ่งที่แนบมากับอี-เมลหรือคลิกลิงก์ในอี-เมลดังกล่าว
13.รายงานอี-เมลน่าสงสัยให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทราบ
14. ถ้าไว้ใจคนส่งอี-เมล ให้สแกนสิ่งที่แนบมาของอี-เมลนั้นโดยใช้โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยก่อนที่จะ เปิดออกถ้ามีการส่งยูอาร์แอลมาให้ด้วย และเป็นยูอาร์แอลที่ไม่ยาวเกินไป ให้พิมพ์ยูอาร์แอลนั้นในเว็บบราวเซอร์แทนที่จะคลิกโดยตรงจากอี-เมล
16.อย่าส่งอี-เมลข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใด
กรณีการท่องเว็บ และดาวน์โหลดโปรแกรมทางออนไลน์
17.ใช้บริการตรวจสอบประวัติเว็บ (Wep reputation) เพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ว่าเว็บที่เข้าชมนั้นปลอดภัยจากภัยคุกคามบนเว็บ
18. จงระวังเว็บเพจที่ต้องการติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในคอมพิวเตอร์ให้สแกนโปรแกรม ทั้งหมดที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตโดยใช้โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยรุ่น ล่าสุด
19.อ่านข้อตกลงสิทธิการใช้งานสำหรับผู้ใช้เสมอและยกเลิก กระบวนการติดตั้งถ้าจะมีการติดตั้ง "โปรแกรม" อื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากโปรแกรมที่ต้องการ
20.อย่าให้ข้อมูลส่วน บุคคลเมื่อมีการร้องขอข้อมูลอย่างน่าสงสัยจงให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับไซต์ที่ แสดงไอคอนเป็นรูปกุญแจล็อคที่ด้านล่างของบราวเซอร์
20 เคล็ดลับความปลอดภัยสำหรับผู้ปกครอง
1.วางคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มองเห็นได้ชัดเจน
2.กำหนดเวลาการใช้อินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์สื่อสารกับสังคมอื่นๆ ทั้งหมด
3.ปรับปรุงซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยให้ทันสมัยอยู่เสมอ
4.กำหนดเว็บไซต์ที่บุตรหลานสามารถเยี่ยมชมได้ (สำหรับเด็กเล็ก)
5.ใช้การกรองยูอาร์แอล
6.ดาวน์โหลดบริการตรวจสอบชื่อเสียงและประวัติเว็บไซต์ รวมทั้งตรวจสอบเว็บไซต์ที่เด็กเยี่ยมชม
7.ตรวจสอบเนื้อหาและนโยบายความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของไซต์ที่เด็กเข้าเยี่ยมชมบ่อยครั้ง
8.พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการป้อนข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์
9.ห้ามไม่ให้บุตรหลานรับการติดต่อจากบุคคลที่พวกเขาไม่เคยพบมาก่อน
10.เรียกใช้การแสกนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยของคุณและตรวจเช็คประวัติการท่องเว็บในบราวเซอร์
11.ใช้บริการแชร์ไฟล์ร่วมกันที่ถูกกฎหมายเท่านั้น
12.กำหนดโปรไฟล์เกี่ยวกับชุมชนเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นส่วนตัว
13.ให้ใช้นามแฝง จงอย่าใช้ชื่อจริงเพื่อแสดงตัวตน
14.ระวังและโพสต์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด
15.สนับสนุนให้เด็กให้ความเคารพต่อผู้อื่น
16.ตรวจสอบเว็บไซต์ก่อนที่จะอนุญาตให้เด็กซื้อสิ่งใดบนอินเตอร์เน็ต
17.สอนเด็กให้ใช้รหัสผ่านหลายชุดที่จะไม่เกี่ยวโยงถึงชื่อ ชื่อเล่นหรือข้อมูลที่พบได้ทั่วไปบนอินเตอร์เน็ต
18.ตรวจสอบชุมชนเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นระยะๆ
19.ใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยฟรีให้เป็นประโยชน์เพื่อสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ของครอบครัว
20.ที่สำคัญที่สุดคือให้หมั่นบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส และอันตรายล่าสุดบนอินเตอร์เน็ตให้บุตรหลานของคุณรับรู้
หน้า 26
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552